โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 78 – ตรวจคัดกรอง-มะเร็งเต้านม

แน่นอนว่ายังมีมะเร็งประเภทอื่นอีกมากมาย แล้วทำไมเราถึงตรวจคัดกรอง (Screen) เฉพาะมะเร็งที่กล่าวมาข้างต้น การทดสอบคัดกรองเพื่อให้ได้ประโยชน์ ควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  • สามารถ (Capable) ตรวจพบมะเร็งได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะแสดงอาการ (Symptomatic)
  • ตรวจคัดกรองมะเร็งที่ง่ายต่อการรักษาเมื่อพบตั้งแต่เนิ่นๆ
  • มีความถูกต้องแม่นยำ (Accurate) และ
  • ลดความเสี่ยง (Risk) ของการเสียชีวิตจากมะเร็งที่ตรวจคัดกรอง

บนพื้นฐาน (Criteria) เหล่านี้ มะเร็งชนิดอื่นๆ (เช่น มะเร็งรังไข่ [Ovarian], มะเร็งตับอ่อน [Pancreatic], มะเร็งอัณฑะ [Testicular], มะเร็งไทรอยด์ [Thyroid], มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ [Bladder] และอื่นๆ) ไม่ได้รับการแนะนำ (Recommend) ให้ตรวจคัดกรอง เนื่องจากไม่มีหลักฐานเพียงพอ (Sufficient) ที่แสดงให้เห็นว่าการตรวจคัดกรองช่วยลดการเสียชีวิต หรือให้ประโยชน์ที่มากกว่าความเสี่ยงอย่างชัดเจน

ดังนั้น เรามาเจาะลึก (Delve into) การตรวจคัดกรองมะเร็งที่แนะนำ

มะเร็งเต้านม (Breast) เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในผู้หญิง และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในผู้หญิง รองจากมะเร็งปอด (Lung) มะเร็งเต้านมทำให้ผู้หญิงในสหรัฐอเมริกาเสียชีวิตไป 42,465 คนในปี ค.ศ. 2018 เราคัดกรอง มะเร็งเต้านมด้วยถ่ายภาพรังสีเต้านม (Mammogram)

วิธีการดังกล่าว เป็นการถ่ายภาพรังสีเอ็กซ์ (X-ray) ของเต้านม สมาคมมะเร็งอเมริกัน (American Cancer Society: ACS) แนะนำให้ถ่ายภาพรังสีเต้านมทุกปี เริ่มตั้งแต่อายุ 45 ปี โดยอาจมีทางเลือก (Option) สำหรับผู้ป่วยที่เริ่มตั้งแต่อายุ 40 ปี และถ่ายภาพรังสีเอ็กซ์ ทุก 2 ปี (Bi-annual) หลังจากอายุ 55 ปี

คณะทำงานป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (U.S. Preventive Services Task Force: USPSTF) ก็แนะนำให้ถ่ายภาพรังสีเอ็กซ์ ทุกปีตั้งแต่อายุ 40 ปี โดยย้ำว่าควรทำอย่างยิ่งเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป คำแนะนำทั่วไปเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องใช้กับทุกคน แต่บางคนควรได้รับการคัดกรองโดยการตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging: MRI ) เนื่องมาจากประวัติส่วนตัว, ประวัติครอบครัว, หรือพันธุกรรม (Genetic) ที่มีความเสี่ยง (Predisposition)

คำแนะนำเหล่านี้ไม่ใช่คำแนะนำเฉพาะผู้ป่วย (Patient-specific) ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง (Risk factor) เฉพาะของตน ตัวอย่างเช่น หากผู้หญิงมีประวัติครอบครัวเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม, รังไข่, ท่อนำไข่ (Tubal), หรือช่องท้อง (Peritoneal) หรือประวัติครอบครัวที่ทราบถึงการอ่อนไหว (Susceptibility) ต่อมะเร็งเต้านม 1 หรือ 2 กล่าวคือ ยีนกลายพันธุ์ (Gene mutation) BRCA 1 - 2 ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม ก็ควรเพิ่มการตรวจคัดกรองด้วย MRI

แหล่งข้อมูล – 

  1. Ramirez, Lucas, MD. (2022.o Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.